[ กว่าจะมาเป็นซอสแม็กกี้ ]
เล่าเรื่องราวซอสในตำนานพร้อมมองมุมแบรนด์
.
**แต่เดี๋ยวก่อน…บทความนี้ “ไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ” จากที่ไหนนะครับ เพจเรานั้นเป็นเพจ “นักเล่าเรื่องนวัตกรรมอาหาร” ดังนั้นอะไรก็ตามที่น่าสนใจและอยู่ในวงโคจรของเรานั้น เรานำมาเล่าหมดครับ
.
[ Maggi ชื่อที่กลายเป็นความหมาย ]
มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างนะครับที่เราเรียกชื่อยี่ห้อกันติดปากจนชื่อยี่ห้อนั้นมีความหมายกลายเป็นสินค้านั้นไปเลย อย่าง เครื่องถ่ายเอกสารก็ XEROX , น้ำยาล้างจานหลายคนเรียก Sunlight , MAXX ลวดเย็บกระดาษ , หรือย้อนยุดดักแกกันหน่อยก็อย่าง แฟซ่า – ยาสระผม และอย่างผงชูรสก็เรียกอายิโนโมะโต๊ะ กันเลย
ซึ่ง MAGGI หรือ ซอสแม๊กกี้ หรือเรื่องที่ ‘นวัตกิน’ จะเล่าให้ฟังวันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสระดับตำนานที่เป็นที่นิยมครองใจจนเราหลายๆ คนเรียกซอสปรุงทุกยี่ห้อว่า “แม๊กกี้” นั่นเอง
ไปฟังเรื่องเล่าของซอสนี้กันครับว่า..มิสเตอร์แม็กกี้ผู้ให้กำเนิดคือใคร..มันกำเนิดจากไอเกียอะไร..จุดขายจุดมุ่งหมายแรกของมันคืออะไร..ซอสถั่วเหลืองจริงหรือ?
.
[ ไอเดียช่วยเหลือผู้คนของเจ้าของโรงโม่แป้ง ]
ซอสแม็กกี้ถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1884 เมื่อมิสเตอร์ ยูเลียส แม็กกี (Julius Maggi) เจ้าของโรงโม่แป้งแห่งหนึ่งเกิดความคิดขึ้นมาว่าน่าจะมีวิธีการทำอาหารรสชาติดีๆ และได้คุณค่าสารอาหารสำหรับครอบครัวกลุ่มชนชั้นกรรมาชีพที่มีรายได้น้อยและต้องพึ่งสารอาหารจากพืชเป็นหลัก เพราะเนื้อสัตว์ราคาแพง และขณะนั้นชนชั้นกรรมาชีพในประเทศก็กำลังประสบภาวะทุพโภชนาการหรือเป็นโรคขาดสารอาหารจำนวนมาก
ในที่สุดเขาก็ทดลองนำถั่วมาให้เป็นแป้งกับซุปถั่ว หรือจะเรียกว่า “ซุปพร้อมใช้” ขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้นอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังช่วยเพิ่มรส “อูมามิ” หรือรสอร่อยกลมกล่อมให้กับอาหารเช่นเดียวกับซอสถั่วเหลือง
.
[ Maggi Würze ]
จุดขายแรกคือ..ทำให้น้ำซุปรสดีขึ้น
ปี 1886 บริษัทแม็กกี้ส่งซอสปรุงรสสีเข้มที่ได้จากโปรตีนพืชออกสู่ตลาด ซอสชนิดนี้อุดมด้วยกรดกลูตามิก (glutamic acid) ที่ได้จากโมโนโซเดียวกลูตาเมท (MSG) ที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร กระตุ้นให้กินอาหารได้มากขึ้น
โดยเหตุผลหนึ่งที่เขาทุ่มเทการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา ก็คือ ต้องการให้ได้สารทดแทนเนื้อสัตว์ (รวมถึงน้ำซุปหรือน้ำสต็อก) ในราคาที่คนทำงานและชนชั้นกรรมาชีพเข้าถึงได้ และยังช่วยลดภาระในการเตรียมอาหารให้แม่บ้านและหญิงที่ทำงานตามโรงงานที่ในแต่ละวันต้องทำงานหนักจนไม่มีเวลาทำอาหารดีๆ สำหรับสมาชิกในครอบครัว
3 ปีต่อมาเขาก็ตั้งโรงงาน Maggi GmbHขึ้นในเยอรมนีในปี 1887 ผลิต Maggi Würze ออกวางจำหน่ายพร้อมข้อความโฆษณาบนฉลากว่าสามารถทำให้ “ซุปหรือน้ำแกงที่รสชาติแย่ดีขึ้นและมีคุณค่ามากขึ้นทันทีอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังสะดวกและราคาถูก” ผลิตภัณฑ์ของเขาได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี (คำว่า Würze ในภาษาเยอรมัน หมายถึง เครื่องเทศ หรือ เครื่องปรุงรส)
กระทั่งปี 1947 บริษัทเนสท์เล (Nestle) ซื้อกิจการของแม็กกี้และยังคงผลิตสินค้าต่างๆ ตามความตั้งใจของยูเลียส แม็กกีที่ต้องการให้มีอาหารอร่อย มีคุณภาพและสารอาหารครบถ้วนสำหรับทุกคนอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน
.
[ แม็กกี้คือซอสถั่วเหลือง..งั้นหรือ ? ]
ซอสแม็กกี้และซอสถั่วเหลือง (อย่างซีอิ๊วขาว หรือ โชยุของญี่ปุ่น) ล้วนให้รสชาติ “อูมามิ” เหมือนกัน ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีเดียวกัน แต่แม็กกี้สูตรดั้งเดิมนั้นไม่ใช่ซอสถั่วเหลืองครับ แต่เป็นซอสที่ทำจากโปรตีนข้าวสาลีละลายน้ำที่ให้รสชาติล้ำลึกกว่าและซับซ้อนกว่าซอสถั่วเหลืองทั่วไป ทั้งยังสามารถใช้แทนซอสถั่วเหลืองและซอสเปรี้ยว (วูสเตอร์ซอส หรือ ซอสไก่งวง ที่คนไทยเรียกกัน) ได้อย่างพอดิบพอดี ช่วยให้ได้รสชาติอาหารที่อร่อยและแปลกใหม่ที่ซอสสองชนิดไม่อาจให้ได้อีกด้วย
.
[ สู่ผลิตภัณฑ์หลากหลาย..ด้วย Meaningful Message ถึงความสะดวก ]
ในโลกของการเล่าเรื่องสินค้านั้น สินค้าที่มี Brand แข็งแรงนั้นจะสามารถ represent ถึงความหมายบางอย่างที่ลึกกว่าตัวลักษณะหลักของสินค้าลงในใจลูกค้าได้เสมอ
อย่าง Maggi ก็เช่นกัน (นวัตกินมองว่า) ลักษณะหลักของซอสนี้คือ รสชาติ กลิ่น และสรรพคุณการปรุงรส
แต่ ‘ความหมาย’ ที่ Maggi ได้แสดงลงในใจลูกค้าจำนวนมากนั้นคือ “ความสะดวก” ครับ ซึ่งความกมายนี้ปรากฏในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ตามมาของ Maggi
โดยเฉพาะสำหรับอาหารจำพวกผัดๆ ทอดๆ ที่ต้องการซอสเพิ่มความกลมกล่อมยิ่งขึ้น ทั้งซอสผัด ซอสหอยนางรม นอกจากนี้ยังมีน้ำสต๊อกไก่ ผงปรุงรสและมะนาวผงที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับการทำอาหารในสภาพแวดล้อมที่ต้องการความเร่งด่วนอย่างในปัจจุบัน
และที่ชัดมากๆ คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของแม็กกี้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอีกหลายประเทศทั่วโลก อย่างเมนูแม็กกี้โกเร็ง (Maggi goreng) อันเลื่องชื่อของมาเลย์เซีย
หรือ “2 Minutes Noodle” หรือบะหมี่แม็กกี้ 2 นาทีที่กลายเป็นคำติดปากของฝรั่งหลายๆ คนนั่นเอง